บรรยากาศการนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาสาขาวิชาสุขภาพและความงาม “โครงการผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านสุขภาพความงาม”
10/06/2022ประชาสัมพันธ์นักศึกษา “กำหนดการนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565”
17/06/2022เพราะสมุนไพรไทยของเรามีประโยชน์หลากหลาย.. วันนี้แอดมินมีสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ #ขมิ้นชัน กับศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาฝาก..
#ขมิ้นชัน ถูกจัดอยู่ในสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งมีการนำมาใช้เพื่อรักษาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยของประชาชน โดยขมิ้นชันสามารถรักษาโรคตามกลุ่มอาการได้ ดังนี้
โรคกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ
รูปแบบยา : ขมิ้นชันผงบรรจุแคปซูล
วิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อควรระวัง
1. ระวังการใช้ในเด็ก และสตรีมีครรภ์
2. ระวังการใช้ร่วมกับยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือดและยารักษามะเร็งบางชนิด
3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีอุดตัน
4. หากมีอาการแพ้ เช่น เป็นผื่นลมพิษ บวม คันตามปากและลำคอ หายใจติดขัด ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที
โรคทางผิวหนัง ผื่นคัน แมลงกัดต่อย
รูปแบบยา : เหง้าสด/เหง้าแห้ง/ผงขมิ้นชัน
วิธีใช้ : นำเหง้าขมิ้นชันสดขนาดยาวประมาณ 2 นิ้ว มาฝนกับน้ำต้มสุก และนำตัวยาที่ได้มาทาบริเวณที่มีอาการ หรือใช้ผงขมิ้นขันผสมเล็กน้อยแล้วทาบริเวณที่มีผื่นคัน อักเสบจากแมลงกัดต่อย
ที่มา : คู่มือสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน (ฝ่ายสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มงานสื่อสารองค์กร กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข), เดือนมิถุนายน ปี 2562.
แพทย์แผนไทยประยุกต์ ราชมงคลธัญบุรี
สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มทร.ธัญบุรี – ศูนย์รังสิต
คณะการแพทย์บูรณาการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี