---------------------------------------------------------------------------
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาหลักสูตร การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต มีคุณสมบัติดังนี้ Read more
---------------------------------------------------------------------------
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
อัตราค่าเล่าเรียนระดับปริญญาตรี หลักสูตร การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต Read more
---------------------------------------------------------------------------
การแพทย์แผนไทยประยุกต์
CONTACT US
Faculty of Integrative Medicine
Rajamangala University of Technology Thanyaburi
No 8 Phaholyothin 87 Soi 2
Prachathipat Thanyaburi Pathum Thani
Thailand 12130
TEL 66-2592-1989
FAX 66-2592-1900
EMAIL Fim@rmutt.ac.th
Frequently Ask Question (FAQ)
1หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์เรียนกี่ปี?
การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต เป็นหลักสูตรผลิตบุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง โดยเป็นยกฐานะของการแพทย์แผนโบราณให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย โดยใช้เวลาศึกษา 4 ปี (ภาคปกติ)
2ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ต้องเข้าสอบเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพหรือไม่?
การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือ มุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งศึกษาจากสถานศึกษา ที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ ตามระเบียบและข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย โดยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องได้รับปริญญาตรี การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิตจากสถาบันที่สภารับรอง และต้องสอบใบอนุญาตผ่านเพื่อขึ้นทะเบียน ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) 1 ใบ โดยมีการทดสอบดังนี้
1.สอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานชั้นเตรียมคลินิก ชั้นคลินิก และกฎหมาย
2.สอบความรู้ทางวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
3.สอบความรู้ทักษะและหัตถการในเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยประยุกต์)
3แพทย์แผนไทยประยุกต์มีคำเรียกชื่อหน้านามหรือไม่?
สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาและสอบผ่านเพื่อขอรับในอนุญาตสามารถใช้คำย่อชื่อหน้านามว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ พท.ป.
4แพทย์แผนไทยประยุกต์สามารถวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง?
กลุ่มอาการที่สามารถรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้แก่ กลุ่มการปวดบริเวณต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งตึง ปวดต้นคอ,คอตกหมอน เหน็บชา ตะคริวน่อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจาการเล่นกีฬา กล้ามเนื้ออ่อนแรง,กล้ามเนื้อเกร็ง อาการนอนไม่หลับ ไข้หวัด คัดจมูก หอบหืด ภูมิแพ้ อัมพฤกษ์ อัมพาต สตรีหลังคลอดน้ำคาวปลาไม่เดิน คัดตึงเต้านม,น้ำนมไหลน้อย เป็นต้น ทั่งนี้สามารถศึกษาข้อมูลโรคหรือกลุ่มอาการในขอบเขตวิชาชีพเพิ่มเติมได้จาก บัญชีรหัสกลุ่มโรค อาการ และหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย
5แพทย์แผนไทยประยุกต์สามารถทำหัตถการครอบแก้ว ฟังเข็มได้หรือไม่?
การฝังเข็มลดอาการปวดร่วมกับครอบแก้ว ฝังเข็มบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง กระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ติดขัดในร่างกาย ทำร่วมกับการครอบแก้ว เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นพัตถการพื้นฐานของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนจีนตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพฯ